สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

     วันพุธที่ 25 มกราคม  2566 เวลา 09.30 น. นายโอภาส ต้นทอง ศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี มอบหมายให้ นางนันทญาพร สุชาสันติ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting  โดยมี นายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  โดยมีอาจารย์จันทวรรจ์ หรรษาภิรมย์โชค มาให้ความรู้ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting  >> สาระสำคัญของการประชุม คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถและมีสมรรถนะสูงสุด ตัวอย่างเช่น การทำงานทุกงานจะต้องมีการวางแผนงาน สรุปงาน กำกับติดตามว่าผลงานที่ผ่านมา มีข้อบกพร่องหรือปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อทำให้คนที่มาทำงานต่อได้มีความรู้ความเข้าใจ แนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้มีการเน้นย้ำให้บุคลากรมีความตระหนัก และมีการจัดการความรู้ตามแนวทาง คือ ทำอย่างไรประชาชนผู้รับบริการถึงจะมีความพึงพอใจในการได้รับการบริการมากที่สุด  การรู้จักสร้างนวัตกรรม หรือสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  การทำงานจะต้องมีการกำกับติดตาม ประเมินผลงานที่ผ่านมา และบุคลากรต้องมีสมรรถนะในการทำงาน เพื่อจะทำให้องค์กรมีสมรรถนะสูงขึ้น >>  เป้าหมายในการจัดการความรู้ ประจำปีงประมาณ พ.ศ. 2566   เพื่อการพัฒนาคน : ให้มีสรรถนะ ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะสูงขึ้น ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น  เพื่อการพัฒนางาน : ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เช่น ผิดพลาดน้อยลง รวดเร็วขึ้น มีประสิทธิผล ลดต้นทุน ผลผลิตสูงขึ้น เกิดนวัตกรรม และเพื่อการพัฒนาองค์กร : ทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์ มีศักยภาพในการแข่งขันสูง สามารถเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ในการเป็นระบบราชการ 4.0  โดยการจัดทำแผนดิจิทัลเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการรติดตาม การคาดการณ์ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ การพัฒนาทักษะ สมรรถนะบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะสูงสุด และการให้บริการด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมวันนี้ : 390 ครั้ง ไม่ซ้ำกัน : 206 คน ┇ เข้าชมเดือนนี้ : 7157 ครั้ง ไม่ซ้ำกัน : 3371 คน ┇ เข้าชมปีนี้ : 37006 ครั้ง ไม่ซ้ำกัน : 12224 คน
เริ่มนับใหม่ 15/07/2567 (เว็บไซต์เดิม : 1,777,563 ครั้ง เริ่ม 16 พฤษภาคม 2018)